วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Balanced Scorecard (BSC) คือ อะไร

Balanced Scorecard (BSC)

เป็นเครื่องมือซึ่งเกิดจากแนวความคิดที่ช่วยให้องค์กรในการแปลจากกลยุทธ์ให้เป็นการปฏิบัติ    โดยเริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งเป็นขั้นของการกำหนดปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ    และจากนั้นก็เป็นการสร้างดัชนีวัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators) ขึ้นเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงเป้าหมายและใช้วัดผลการดำเนินงานในส่วนที่สำคัญต่อกลยุทธ์   จึงถือได้ว่า BSC เป็นระบบการวัดผลการดำเนินงาน  ที่ถ่ายทอดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรสู่การปฏิบัติ  และสะท้อนการดำเนินงานในมุมมอง 4 ด้านหลัก  คือ ด้านการเงิน  ด้านลูกค้า  ด้านกระบวนการภายใน  และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา

• มุมมองด้านการเงิน
• มุมมองด้านลูกค้า  เน้นความพึงพอใจของลูกค้า 
• มุมมองด้านกระบวนการ   เป็นการปรับปรุงพัฒนากระบวนการภายใน 
• มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา  เน้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  การสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและระบบ


การวัดผลสำเร็จธุรกิจตามที่เคยทำกันมาแต่เดิมนั้น มักมุ่งเน้นที่ข้อมูลทางการเงินและการบัญชีจากภายนอก ซึ่งเป็นวิธีการที่เริ่มไม่ได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน  ตอนนี้องค์กรต้องการดัชนีวัดความสำเร็จที่ครอบคลุมมากกว่า  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับองค์กรในยุคข้อมูลข่าวสาร 

 สาเหตุที่ต้องพิจารณาการดำเนินงานจากมุมมองหลายด้าน  และสนับสนุนแนวคิดของ BSC ที่วัดผลสำเร็จของการดำเนินงานจาก 4 มุมมองนั้น  เนื่องจากพบว่า ปัจจุบันองค์กรที่มีผลประกอบการยอดเยี่ยมมีลักษณะร่วมบางอย่าง  ซึ่งสามารถสรุปได้  ดังนี้

• เป็นองค์กรที่เน้นให้ความสำคัญกับลูกค้า  มีความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงความสำคัญและความต้องการของลูกค้า  และมีวิธีที่มีประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในระดับกลยุทธ์และระดับปฏิบัติการ
• เป็นองค์กรที่มีผู้นำที่มีประสิทธิภาพในการตัดสินใจและสามารถในการสื่อสารอย่างทั่วถึงภายในองค์กร
• เป็นองค์กรที่ใช้ข้อมูลเพื่อการจัดการ  เพื่อนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายหลัก
• เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  มุ่งทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมกับองค์กรเท่าที่จะเป็นไปได้ (Coronel & Evans, 1999)


ที่มาแหล่งความรู้ : รายงานการใช้ Balanced Scorecard ในการบริหารงานเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย
 โดย Dr. Wannarat  Wattananimitkul @ 2003


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น