วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ASEAN Economic Community ( AEC )

ASEAN Economic Community ( AEC )
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ASEAN Economic Community     (AEC)    หมายถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีเป้าหมายส่งเสริมอาเซียนให้เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานมีฝีมือ และเงินลงทุนอย่างเสรี ภายในปี พ.ศ. 2558  (ค.ศ.2015) 
ความเป็นมา
อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510  มีประเทศสมาชิกรวม 10 ประเทศ  แบ่งเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย และประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ คือกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กลุ่ม CLMV (  Cambodia   Laos   Myanmar   Vietnam )
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง                          
อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมินาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการาค้ารุนแรงขึ้นทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็ยังคงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการดังนี้ 
ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาค รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค ใช้เป็นเวทีแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในภูมิภาค                  
เป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน
อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจภายในปี  2558  (ค.ศ. 2015)   โดยมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single market and production base) และมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนแรงงานฝึมืออย่างเสรี และการเคลื่อนยายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น (free flows of goods, services, investment, and skilled labors, and free flow of capital)
ความคืบหน้าการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ความเป็นมา
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือนตุลาคม 2546  ณ เกาะบาหลี ผู้นำอาเซียนประกาศเป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (แถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2) คือการพัฒนาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี ค.ศ. 2020 โดยมีเสาหลักอีก    2 ด้าน คือด้านความมั่นคงและสังคมวัฒนธรรม ซึ่งจะประกอบกันเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี ค.ศ. 2020 และต่อมาได้เร่งเป้าหมายเป็นปี ค.ศ. 2015
เพื่อเร่งรัดการจัดตั้ง AEC  ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อเดือนสิงหาคม 2549 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เห็นชอบที่จะจัดทำแผนงานเชิงบูรณาการด้านเศรษฐกิจ โดยระบุ
เป้าหมายและกรอบระยะเวลาในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ สำหรับประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศไว้ชัดเจน อาเซียนได้จัดทำแผนงานดังกล่าวแล้วเสร็จและมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้อาเซียนมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ
1 การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน  มีการเคลื่อนย้าย บริการ การลงทุนและแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนให้เป็นรูปธรรม
2 การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีการประสานนโยบายที่จะส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และนโยบายภาษี รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง การเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน
3 การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน ส่งเสริมการพัฒนาและการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของ SME และการลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration : IAI)
4 การเป็นภูมิภาคที่บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน เช่นการจัดทำเขตการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก
สถานะล่าสุด
ณ ปัจจุบัน อาเซียนได้ดำเนินงานตามแผนงานการจัดตั้ง AEC มีความคืบหน้าที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ดังนี้
การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์  และไทย) ได้ลดภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียน เป็น  0 %  และ  CLMV ได้ลดภาษีสินค้ามาอยู่ที่ระดับ 0 – 5 % แล้ว
มีการทบทวนและปรับปรุงกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าของอาเซียนให้ง่าย ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายสินค้าและสนับสนุนให้ภาคเอกชนใช้สิทธิประโยชน์จากเขตการค้าเสรีอาเซียนเพิ่มขึ้น
สมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย) ได้ยกเลิกมาตรการที่เป็นการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีหมดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ส่วนฟิลิปปินส์จะยกเลิกภายใน  1 มกราคม 2555 และ CIMV ภายใน 1 มกราคม 2558
ได้จัดทำ ASEAN Trade Facilitation Framework ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานด้านการอำนวยความสะถดวกทางการค้า รวมถึงแผนงานเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ได้แก่ พิธีการศุลกากร กระบวนการทาบการค้า มาตรฐานและการรับรอง มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ASEAN Single Window และ ASEAN Trade Repository เป็นต้น
การเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี 
สรุปผลการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการไปแล้ว 5 รอบ โดยจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการไป 7 ชุด ครอบคลุมทั้งด้านการเปิดตลาด (Market Access) และการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment : NT)  โดยมีเป้าหมายการเปิดเสรีสาขาบริการสำคัญ 4 สาขา ได้แก่
ท่องเที่ยว ICT สุขภาพ และสาขาการบิน ภายในปี 2553  (ค.ศ. 2010)  ส่วนสาขาโลจิสติกส์ ภายในปี 2556 (2013) สำหรับสาขาบริการอื่น ๆ ได้กำหนดเป้าหมายไว้ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)
ณ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการจัดทำข้อผูกพัน ฯ ชุดที่ 8 โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามพิธีสารเพื่อ อนุมัติข้อผูกพันชุดที่ 8 ภายใต้ ASEAN Framework  Agreement on Services          ( AFAS ) ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 17  และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2553 ณ ประเทศเวียดนาม
การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี
ได้ทบทวนกรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน (Framework Agreement of the ASEAN Investment Area : AIA)   และความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน หรือ ASEAN IGA (ASEAN Agreement for the promotion and protection of Investment ) และได้ปรับปรุงผนวกความตกลงทั้งสอบฉบับเป็น “ความตกลงว่าด้วยการลงทุนเต็มรูปแบบของอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement  ACIA) “ มีสาระสำคัญ 4 ด้าน คือเปิดเสรี การส่งเสริม การอำนวยความสะดวก และการคุ้มครองการลงทุน โดยครอบคลุมทั้งการลงทุนทางตรง (Foreign Direct Investment     FDI) และการลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio  Investment  )
ณ ปัจจุบัน สมาชิกอาเซียน 8 ประเทศ (ยกเว้นอินโดนีเซีย และไทย) ได้ให้สัตยาบันความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Agreement on Investment : ACIA) แล้ว
ขณะนี้อินโดนีเซียอยู่ระหว่างการจัดทำรายการข้อสงวน (Reservation  List) และไทยอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ Reservation List และการให้สัตยาบัน
การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น   
ดำเนินงานตามแผนงานการรวมกลุ่มทางการเงินและการคลังของอาเซียน มีสาระสำคัญ    3 ด้าน คือ
1 การเปิดเสรีบริการทางการเงิน (Financial Liberalization) เจรจาทำข้อผูกพันการเปิดตลาดบริการทางการเงินไปแล้ว 5 รอบ
2 การเปิดเสรีบัญชีทุน (Capital Account Liberalization) มีการผ่อนปรนข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายเงินทุน รวมถึงบัญชีเดินสะพัด และการลงทุนในหลักทรัพย์ตามความเหมาะสม
3 การพัฒนาตลาดทุน (Capital Market Development) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมโยงตลาดทุนในอาเซียน
การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี   
มีการจัดทำ และลงนามข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมในคุณสมบัติวิชาชีพ สำหรับ 7สาขา ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์  นักบัญชี  วิศวกร พยาบาล สถาปนิก และนักสำรวจ
ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการให้มีผลใช้บังคับ
เดินหน้าเต็มตัวมุ่งหน้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน“AEC Blueprint พิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”
เพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาเซียนได้จัดทำแผนงานในเชิงบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อให้เห็นการดำเนินงานในภาพรวมที่จะนำไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี ค.ศ.2015 ได้อย่างชัดเจน ซึ่งถ้าหากเปรียบเทียบกับการสร้างบ้านแผนงานนี้ก็เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จะช่วยบอกองค์ประกอบและรูปร่างหน้าตาของบ้านหลังนี้ว่า เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร
ทำไมต้องจัดทำ AEC Blueprint
เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจให้ชัดเจนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดจนบรรลุเป้าหมาย AEC ในปี ค.ศ.2015
เพื่อสร้างพันธสัญญาระหว่างประเทศสมาชิกที่จะดำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวร่วมกัน